DGA นำบริการภาครัฐเข้าสู่ยุคดิจิทัลอำนวยความสะดวกทั้งองค์กร ธุรกิจและเอสเอ็มอี

534

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อบริบทของโลกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ ระบบประมวลผลที่ฉลาดขึ้นและมีความเป็นอัตโนมัติ ปริมาณข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และสามารถนำไปวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถพกพาและเคลื่อนที่ไปทุกหนแห่ง ฯลฯ ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกมิติ ไม่เว้นแม้แต่มิติการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ 

สำหรับภาครัฐของประเทศไทยนั้น มีสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ซึ่งวันนี้ คุณสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จะพาเราไปรู้จักและไปลองใช้เครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีไทยสามารถทำธุรกรรมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างตู้บริการอเนกประสงค์ที่เป็น One Stop Service เพื่อให้เอสเอ็มอีไทยสามารถใช้ประโยชน์จากยุคเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

รู้จัก DGA องค์การมหาชน เพื่อการเปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ยุคดิจิทั
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สพร.” และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Digital Government Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “DGA” เป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแลสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ทำหน้าที่ในการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หน้าที่หลักๆ คือ ให้บริการต่างๆ สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่จะทำให้การบริการประชาชนในด้านต่างๆ สะดวกสบายยิ่งขึ้น และทำหน้าที่ขับเคลื่อน สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐเปลี่ยนแปลงงกระบวนการทำงานให้เป็นไปแบบระบบดิจิทัล สำคัญที่สุดคือ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ทั้งภาคองค์กรธุรกิจและเอสเอ็มอี สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวก

Business Portal ศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ ศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลบริการภาครัฐออนไลน์ไม่ต้องเดินทางให้เสียเวลา

Business Portal เป็นโครงการร่วมระว่าง DGA และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) จากการต้องการแก้ไขปัญหาที่ประชาชน ตลอดวงจรธุรกิจรวมถึงนักท่องเที่ยว ที่ได้สัมผัสหรือใช้บริการภาครัฐ มักประสบปัญหาในด้านความไม่สะดวก และมีความลำบากในการรับบริการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความซับซ้อน การต้องติดต่อหลายๆ หน่วยงาน ด้วยตนเอง ใช้เวลานานและขาดกรอบเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นการยกระดับบริการภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ และพัฒนาบริการภาครัฐทั้งระบบ 

เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่ต้องติดต่อหน่วยงานราชการหลายแห่ง และการขอใบอนุญาตส่วนใหญ่ขาดความชัดเจนในด้านระยะเวลาและกรอบการพิจารณา Business Portal จะเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐทั้งระบบเข้าด้วยกัน เพื่อการให้บริการที่เบ็ดเสร็จ รวดเร็ว และโปร่งใส และมีช่องทางบริการที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เพื่อให้การไปขอใบอนุญาตต่างๆ จากภาครัฐสามารถทำได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถทำทุกอย่างได้จากบนเว็บไซต์และไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อหน่วยงานที่สถานที่บริการอีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถรับบริการได้ทั้งหมด 25 ธุรกิจ 

ผู้สนใจสามารถเข้าใช้บริการได้ที่ https://biz.govchannel.go.th/ 

ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ เข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐ แบบครบวงจร ในรูปแบบดิจิทัล

ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ หรือ Government Smart Kiosk เป็นบริการที่เกิดจาก บูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมการปกครอง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานประกันสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำนักงานประกันสังคม การประปานครหลวง บริษัท ข้อมูลเครดิตบูโรแห่งชาติ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราขวิถี เป็นต้น 

ปัจจุบัน DGA ได้ดำเนินการติดตั้งตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ หรือ Government Smart Kiosk เพื่อให้บริการประชาชนทั้งหมด 119 จุดทั่วประเทศ ทั้งในหน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ โดยการใช้งานนั้น สามารถเสียบบัตรประจำตัวประชาชนแบบ สมาร์ทการ์ดสอดเข้าไปที่ตู้ก็สามารถเข้าใช้งานได้ทันที

D:\MyMintLanla\Pictures\vlcsnap-2020-02-27-13h44m25s929.png

ประชาชนสามารถใช้บริการที่ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ หรือ Government Smart Kiosk ได้ 4 รูปแบบ คือ

  • รูปแบบที่ 1 Info point  คือ บริการด้านข้อมูล ทั้งข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ข้อมูลส่วนบุคคล
  • รูปแบบที่ 2 Registration คือ บริการลงทะเบียน การสมัคร การกรอกข้อมูล การต่ออายุ
  • รูปแบบที่ 3 Transaction คือ การบริการครบวงจร เช่น การยืนยันตัวตน การส่งเอกสาร การลงข้อมูล การแจ้งปัญหาการใช้บริการทั้งแบบ One Way และ Two Way
  • รูปแบบที่ 4 Payment   คือ บริการชำระค่าบริการ

CITIZEN info แอปพลิเคชั่นที่คนไทย ควรมีติดเครื่องไว้ทุกคน

https://www.dga.or.th/upload/editor-pic/images/444(2).jpg

แอปพลิเคชัน CITIZEN info เป็นช่องทางให้ประชาชนค้นหาพิกัดจุดให้บริการของภาครัฐและนำทางไปที่ตั้งหน่วยงาน ค้นหาคู่มือในการเข้าใช้บริการภาครัฐ เช่นในด้านเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียมไป รวมถึงประเมินความพึงพอใจหลังเข้ารับบริการ ที่สำคัญคือสามารถตรวจสอบสถานะบริการที่ยกเลิกการขอสำเนาเอกสารได้ในแอปพลิเคชันเดียว และฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด กับการค้นหาร้านค้า ชิม ช้อป ใช้ ใกล้ๆ ตัวคุณและนำทางพาไปได้เลย

ช่องทางการดาวน์โหลด
IOS
Androids

บทบาท DGA กับการพาหน่วยงานรัฐบาลเข้าสู่ยุค 5G
ด้วยภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ และไม่ว่าภาคเอกชนหรือประชาชนก็แล้วแต่นั้นย่อมต้องเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ใช้บริการต่างๆ จากทางภาครัฐ ซึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับยุค 5G รัฐบาลจังได้พยายามปรับให้หน่วยงานต่างๆ หมุนตามความเป็นไปของโลกให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี DGA จึงมีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลขึ้นมา เหมือนกันการวางโรดแมปเพื่อให้รัฐบาลสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นดิจิทัล และทำงานให้ได้เร็วขึ้น โดยมีทิศทางที่จะมีการพัฒนา อยู่ 3 เรื่อ

  1. การพัฒนาบริการของภาครัฐให้เป็นดิจิทัล: เพื่อให้การบริการของภาครัฐเป็น One Stop Service เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อภาครัฐแล้วสามารถขอรับบริการได้จากหลายๆ อย่างในครั้งเดียว 
  2. การทำแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลส่วนกลาง: เพื่อสำหรับการเก็บและใช้ข้อมูลที่เป็นส่วนกลางของทางภาครัฐ จากสร้าง “ดิจิทัล ไอดี” ให้ประชาชนสำหรับการใช้ติดต่อภาครัฐ เพื่อลดการใช้งานด้านเอกสารที่เป็นกระดาษ แต่ปรับให้ไปอยู่ในรูปแบบของ อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการวิธีการยืนยันตัวตนแบบ อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับติดตามคำร้องขอต่างๆจากภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนที่มาติดต่องานต่างๆ กับภาครัฐสามารถติดตามสถานะของ กระบวนการคำร้องขอ ของตนได้ผ่านช่องทางออนไลน์
  3. Open Data การทำข้อมูลภาครัฐมาเปิดเผยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้: เพื่อนำเอาข้อมูล ข่าวสาร สถิติ รายงานต่างๆ ที่ทางภาครัฐมีอยู่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชน เช่น ค่าสถิติฝุ่น PM 2.5 ที่ทางภาครัฐวัดได้

โดยทั้ง 3 หลักใหญ่นี้ DGA จะมีการเข้าไปร่วมมือกับทั้งทางภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินการให้สามารถเกิดผลสำเร็จภายในระยะเวลา 3 ปี 

เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งแรกที่ทุกองค์กรต้องทำคือปรับตัวให้ทัน แล้วสร้างสรรค์บริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค พวกเราอายุน้อยร้อยล้านหวังว่าการเดินทางมาที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในวันนี้ จะทำให้ทุกคนตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ลุกขึ้นมาเติมเต็มศักยภาพของตัวเอง และก้าวตามให้ทันเทคโนโลยี เพื่อที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ