กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. ถือเป็นกระทรวงใหม่ป้ายแดงของไทย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2561สร้างคน เพื่อให้คนมาสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัย เพื่อนำผลของงานวิจัยไปสร้างนวัตกรรม เพราะรัฐบาลได้เล็งเห็นแล้วว่า คนรุ่นใหม่มีความคิดความอ่านเป็นของตัวเอง หน้าที่หลักของกระทรวงจึงคือการช่วยผลักดันให้คนรุ่นใหม่สามารถแสดงศักยภาพของตนออกมาให้ได้อย่างเต็มความสามารถ และช่วยสนับสนุนด้านองค์ความรู้ โดยเน้นเรื่องการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และให้ดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศเตรียมความพร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
โครงการยุวชนสร้างชาติ
โครงการที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษานำความรู้ความสามารถออกไปช่วยพัฒนาชุมชน โดยนักศึกษาที่ร่วมโครงการเหล่านี้ จะต้องพักอาศัยในชุมชนที่ทำโครงการ เป็นเวลา 4-5 เดือนหรือคิดเป็น 1 ภาคเรียน เรียนรู้ร่วมกับชุมชน มีการทำงานกับชุมชนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามหลักวิชาการ มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีม และมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวง อว. รวมถึงหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ซึ่งนักศึกษาสามารถเทียบโอนหน่วยกิตการลงพื้นที่ได้เทียบเท่ากับที่เข้าเรียนในชั้นเรียนทั้งหมด ซึ่งเปรียบเสมือนการวิชาของชีวิตจริง โดยจุดประสงค์ของโครงการนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่า เมื่อนิสิต นักศึกษา เรียนอยู่ในระดับชั้นอุดมศึกษาปีที่ 3 หรือ 4 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ควรได้ท่องโลก ได้สัมผัสกับการทำงานจริงๆ ได้เรียนรู้การทำงานในภาคปฏิบัติ
นอกจากนี้ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยังได้กล่าวถึงโครงการนี้ไว้ด้วยว่า “ผลลัพธ์ที่ได้ของโครงการยุวชนสร้างชาตินี้ นอกจากประสบการณ์ที่ได้แล้ว ยังทำให้เหล่านิสิต นักศึกษาหัวใจพองโต เพราะว่าได้ทำงานที่ใหญ่กว่าตัวสามารถช่วยพัฒนาชุมชนได้จริง”
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ จะมียุวชนอาสาเกิดขึ้น 1,000 ทีม ทีมละ 10 คน รวมแล้วเป็นจำนวนกว่า 10,000 คน จากมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงทั่วประเทศไปลงพื้นที่เพื่อนำองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่ร่ำเรียนมาไปพัฒนาชนบทเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชาวบ้าน
นอกจากนี้ยังมีโครงการซึ่งจะดำเนินการควบคู่กันคือ โครงการ “บัณฑิตอาสา” ที่รับบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี ไปทำงานอาสากับชาวบ้านในพื้นที่หรือไปช่วยมองหาโอกาสให้กับชุมชน อย่างเช่น การเข้าไปช่วยในส่วนของชุมชนการเกษตรให้สามารถพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือทำอย่างไรให้สินค้าโอทอปของชุมชนที่วางขายอยู่มากมายสามารถสร้างยอดขาย ยกระดับและพัฒนาได้มากขึ้น และการเข้าไปช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับชุมชนให้สามารถเติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นโครงการที่ได้กับได้ ทั้งทำให้บัณฑิตได้นำสิ่งที่เรียนมาใช้สร้างประสบการณ์จริง ได้ทดลอง ทดสอบ ไอเดียที่มีในตอนเรียนมาลงมือทำ และชุมชนก็ได้รับการยกระดับ ซึ่งโครงการนี้บัณฑิตอาสาที่เข้าร่วมจะได้รับเงินเดือนในการทำงานอีกด้วย
เติมเต็มความรู้ในเรื่องของการปรับตัวในยุคที่ดิจิทัลกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ โดยการ Up Skill, Re Skill และ New Skill
ในโลกที่เอสเอ็มอีรวมถึงทุกๆ คนกำลังถูก Disruption ตั้งแต่ในเรื่องของโมเดลการทำธุรกิจ คนทำงานทั่วไปก็โดน Disrupt ในเรื่องของอาชีพ แล้วยังมีการมาถึงของ 5G ยิ่งจะทำให้มีการ Disruption อีกหลายๆ ครั้ง อย่างเช่นก่อนหน้านี้หากใครได้ทำงานธนาคารถือว่าเป็นองค์ที่ดีมั่นคง ปัจจุบันยังถูก Disrupt จากนวัตกรรมที่มาใหม่ จำนวนสาขาหรือตู้เอทีเอ็มมากที่สุดอีกต่อไป ดังนั้นในอนาคตทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ไม่ใช่เรียนจบเพื่อไปทำงานแล้วเกษียรอีกต่อไป นอกจากนี้การมาของ 5G ยังจะเกิดการงานใหม่ๆ อาชีพใหม่ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเนื้องานจากปัจจุบันเพราะการเข้ามาของระบบ AI เช่นงานที่ต้องทำอะไรแบบเดิมซ้ำๆ วนเป็นวัฏจักร ก็อาจจะมีการลดคนแล้วนำหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำแทน ดังนั้นอาชีพหรืองานในอนาคตจะเป็นงานที่ต้องใช้สมอง ใช้ไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ ในการทำ จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนมีทักษะที่รองรับการมาของอนาคต มีความยืนหยุ่น เข้ากับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป นี่จึงเป็นที่มาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อทำการเตรียมพร้อมในด้านของคน
นอกจากในส่วนของนิสิต นักศึกษา ทางกระทรวงยังได้รณรงค์ให้มหาวิทยาลัยจัดทำ Non Degree Program เพื่อให้เอสเอ็มอีหรือผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้เพื่อรองรับอาชีพและสิ่งใหม่ๆ ที่จะมาในอนาคต เหมือนกับในส่วนบริษัทเอกชนหลายๆ ที่ที่มีโครงการเพิ่มเติมความรู้ อคาเดมี ต่างๆ เพื่อ Up Skill เพิ่มเติมความรู้ความสามารถ Re Skill เมื่อความรู้ความสามารถเดิมไปไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป และ New Skill เพื่อพัฒนาความรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ก้าวทันโลกและเทคโนโลยี ซึ่งโครงการเหล่านี้ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมเป็นอย่างมาก หน่วยงานธุรกิจ เอสเอ็มอี หรือแม้แต่บุคคลเอง สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการเรียนมาลดหย่อยภาษีได้ รวมถึงบุคคลที่สนใจแต่ไม่มีทุนทรัพย์ทางกระทรวง อว. ก็ได้จัดทำคูปองการศึกษาไว้ให้ใช้
โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อต้องการรองรับโลกของการ Disruption การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ แล้วก็พัฒนาการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นตลอดชีวิต
เพราะคำว่า Digital Disrupt เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ ในอนาคตทุกอย่างก็จะถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และท้าทายคนรุ่นใหม่มากกว่าเดิม สิ่งสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ คือการ เตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ ช่วยกันพัฒนาคน เติมเต็มองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรม เพื่อความพร้อมสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หวังว่าการได้พูดคุยกับคุณสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในวันนี้ จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ช่วยให้คุณผู้ชมตื่นตัว และพร้อมรับมือสำหรับทุกการเปลี่ยนแปลง เพื่อการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล