การวางแผนทางการเงิน เป็นสิ่งที่จำเป็นแต่มักไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ก่อนจะทำธุรกิจหรืออะไรก็ตาม เราต้องรู้จักวิเคราะห์สภานภาพทางการเงินของตัวเองก่อนว่า สถานะการเงินตอนนี้เป็นอย่างไร มีเงินออม หรือหนี้สินมากน้อยแค่ไหน สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร ดังนั้นแผนทางการเงินจึงเป็รอีกสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนควรต้องวางแผน เพื่อรับรองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า
“คนส่วนมากทำธุรกิจ จนลืมดูตัวเราเอง ถ้าเรารู้จักการบริหารความมั่นคงทางการเงิน ในอนาคตคุณจะมีความมั่งคั่งแน่นอน”
ซึ่งในช่วงนี้เราจะมาพูดถึงเครื่องมือสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งทางการเงิน เพื่อให้เราและธุรกิจเติบโตไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเราได้เชิญ คุณเอนก จิตต์เอกชัย ผู้จัดการภาคอาวุโสและเจ้าของสำนักงานตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มาแนะนำเครื่องมือและแผนการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับเรา ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนการเงินเพื่อธุรกิจและตัวคุณเองได้ง่ายๆ
HightLight
· การตั้งเป้าหมายทางการเงินเราทำเพื่อ 1.ปกป้องและเพิ่มทรัพย์สิน 2.ดูแลสุขภาพ 3.ทุนการศึกษาบุตร 4.เกษียณอายุ 5.สร้างกองมรดก
· Wealth Creation คือการสร้างความมั่งคั่งผ่านการวางแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย เช่นการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย, ทรัพย์สิน-หนี้สิน
· การการวางแผนทางการเงิน ในส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง เงินส่วนนี้ต้องสำรองเอาไว้ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อกรณีฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด
· Wealth Protection คือการปกป้องความมั่งคั่ง ผ่านการวางแผนประกันภัย และแผนเกษียณอายุ
· Wealth Accumulation คือ การสะสมความมั่งคั่งผ่านการวางแผนภาษี และการวางแผนการลงทุน
· Wealth Distribution คือ การส่งมอบความมั่งคั่ง ผ่านการวางแผนมรดก
· การลงทุนทำประกันชีวิต นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีแล้ว ยังสามารถปกป้องความเสี่ยงจากการตายก่อน เวลา ช่วยในตอนเกษียณอายุ ช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายสุขภาพและโรคร้าย และยังเป็นการออมการลงทุนที่คุ้มค่า
· Corporate Policy คือกรมธรรม์สำหรับนิติบุคคลเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ ผู้บริหาร กรรมการ และพนักงานบริษัท หรือซื้อกรมธรรม์ให้ตัวเองในฐานะกรรมการบริษัท โดยเงินบริษัท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้บันทึกเป็นรายจ่ายและลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้
#เคล็ดลับการวางแผนการเงินทางธุรกิจและแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
#การวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญ
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลมีความสำคัญมาก ถ้าเราดูจากการทำธุรกิจนั้นมันจะเห็นว่ามีช่วงเวลาที่ “มีขึ้น มีลง” ถ้าเราจัดการให้เป็น แบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนว่า ก้อนไหนเงินจากการทำธุรกิจ ก้อนไหนเงินเพื่อให้ครอบครัว (ไม่ว่าจะเป็นเงินเพื่อการเกษียณ หรือเงินเพื่อให้บุตรหลาน) ดังนั้นแผนการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) จึงเป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถบริหารจัดการเงินของเราได้
การตั้งเป้าหมายทางการเงิน เราทำเพื่อ
- ปกป้องและเพิ่มทรัพย์สิน
- ดูแลสุขภาพ
- ทุนการศึกษาบุตร
- เกษียณอายุ
- สร้างกองมรดก
และการที่เราจะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ให้ใช้แนวคิด SMART
S — specific เป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน
M — Measurable สามารถวัดผลได้ เป้าหมายที่ดีจะต้องวัดผลเป็นตัวเลขหรือตัวเงินได้อย่างชัดเจน
A — Achievable รู้ลำดับขั้นตอนว่าควรทำอย่างไร
R — Realistic เป้าหมายต้องมีความเป็นจริง สมเหตุสมผล
T — Timely ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน รู้ว่าใช้เวลาเท่าไหร่เพื่อจะถึงเป้าหมาย
#การบริหารความมั่งคั่ง #WealthManagement
“Wealth Management หรือการบริหารความมั่งคั่งคือการนำเงินของท่านไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ลงทุนในกองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ ฯลฯ เพื่อให้เงินของท่านงอกเงยโดยจะมีผู้จัดการดูแลเงินของท่านเป็นอย่างดีเสมือนมีที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุนอยู่กับท่านตลอดเวลา”
การบริหารความมั่งคั่ง มีหลักการอยู่ 4 หัวข้อ
1. การสร้างความมั่งคั่ง Wealth Creation ผ่านการวางแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย(Consumption Planning)
คนส่วนใหญ่มักฮึกเหิม อยากทำธุรกิจก็ทำเลย บางคนทำงานบริษัทอยู่แล้วรู้สึกไม่ใช่ ก็ตัดสินใจออก แต่ลืมถามตัวเองก่อนออกมาทำธุรกิจว่า “คุณมีทุนสำรอง มีไอเดียในการทำธุรกิจ แล้วหรือยัง” ดังนั้นในกลุ่มนี้ จึงต้องเริ่มจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เป็นก่อน
“นักธุรกิจบางคน รู้แต่รายรับ รายจ่าย ในธุรกิจแต่ไม่เคยรู้ รายรับ-รายจ่าย ในชีวิตประจำวันของตัวเอง”
ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆในการจดบันทึกรายรับรายจ่าย
ยกตัวอย่างรายรับ ของนักธุรกิจ SMEs แบ่งออกเป็น 8 ประเภท
- เงินเดือน+โบนัส
- ค่านายหน้ารับ
- ค่าลิขสิทธิ์
- ดอกเบี้ย/เงินปันผลรับ
- ค่าเช่ารับ
- วิชาชีพอิสระ
- รายได้รับเหมา
- รายได้อื่นๆ
จากตารางจะเห็นได้ว่า รายรับที่เรารับมา 1,200,000 บาท/ปี มีรายจ่าย 1,000,000 บาท/ปี จะเหลือเงินสุทธิ 200,000 บาท/ปี ทีนี้เรามาดูกันในส่วนของรายการทรัพย์สิน-หนี้สินกันบ้าง ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่คนไม่ค่อยสนใจมากที่สุด แต่ถ้าเราแบ่งสัดส่วนได้ เราจะรู้ว่าเงินของเรา มีหน้าที่ทำอะไร
“เงินมีหน้าที่การทำงานไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราต้องแบ่งเงินให้เป็นว่าเงินก้อนไหนใช้ทำอะไร”
สินทรัพย์ แบ่งออกด้วยกัน 4 ประเภท
- สินทรัพย์สภาพคล่อง หมายถึง เงินสด เงินที่มีอยู่ในธนาคาร โดยหลักการการวางแผนทางการเงิน เงินส่วนนี้ต้องสำรองเอาไว้ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เช่น สมมติว่าเรามีค่าใช้จ่าย 30,000 บาท/เดือน เราต้องมีเงินสำรอง 180,000 บาท ในบัญชีสภาพคล่อง เพื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
- สินทรัพย์เพื่อการลงทุน คือพวก หุ้น กองทุนรวม ประกันชีวิต ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้จริงๆจังๆไว้สำหรับการเกษียณ
- สินทรัพย์ฐาวรมั่นคง เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์
- สินทรัพย์ส่วนตัว คือ Lifestlye ของแต่ละบุคคลเช่น นาฬิกา แหวนเพชร ของสะสมต่างๆ
จากตารางข้างต้น เมื่อเรารู้ว่าสินทรัพย์เรามี 6,500,000 บาท หนี้สินอยู่ที่ 4,500,000 บาท เราจะเห็นว่าเราเหลือความมั่งคั่งสุทธิ อยู่ที่ 2,000,000 บาท
ความหมายของการทำตารางรายรับ-รายจ่าย และรายการทรัพย์สิน-หนี้สิน ตรงนี้จะเห็นได้ว่า เรามีรายจ่ายอยู่ที่ละ 1,000,000 บาท แต่เรามีสินทรัพย์อยู่แค่ 2,000,000 บาท แสดงว่าถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน ครอบครัว คนข้างหลังของคุณจะมีเงินใช้แค่เพียง 2,000,000 บาท ซึ่ง จากรายการใช้จ่าย เงินนี้จะหมดภายใน 2 ปี ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่น่ากลัว
2. การปกป้องความมั่งคั่ง หรือ Wealth Protection ผ่านการวางแผนประกันภัย (Insurance Planning) และแผนเกษียณอายุ (Retirement Planning)
- การวางแผนประกันภัย เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ (เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ พิการทุพพลภาพ หรือเป็นโรคร้ายแรง) จะเป็นตัวที่ทำลายเงินออมของเรา เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ตัวเราเองก็ต้องนำเงินของเราออกมารับผิดชอบความเสียหาย ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจจะน้อยหรือสูงกว่าที่คาดคิดก็ได้ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น แน่นอนว่ากระทบต่อฐานะทางการเงินของเราแน่นอน
- การวางแผนเกษียณอายุ เพื่อที่เราจะได้มีเงินคงอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่เราเกษียณอายุ
3. การสะสมความมั่งคั่ง หรือ Wealth Accumulation ผ่านการวางแผนภาษี (Tax Planning) และการวางแผนการลงทุน (Investment Planning) การประหยัดภาษีทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เราจะสามารถเปลี่ยนค่าใช้จ่ายทางภาษีให้เป็นเงินออมทำให้เราสามารถนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ หรือไปเป็นเงินออมได้ เพราะฉะนั้น การเข้าใจเรื่องภาษีก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
4. การส่งมอบความมั่งคั่ง หรือ Wealth Distribution ผ่านการวางแผนมรดก
เพื่อให้มั่นใจว่าความมั่งคั่งที่เราสะสมมาจะไม่จบที่เรา ดังนั้นเราต้องมีแผนมรดกเพื่อส่งมอบให้คนรุ่นหลังของเรา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ หรือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีกฏหมายต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการรับมรดก กฏหมายที่ดิน เป็นต้น และนอกจากนี้ถ้าบางคนทำธุรกิจครอบครัว ก็จะมีเรื่องการทำธรรมาภิบาลของครอบครัวมาเกี่ยวข้อง ซึ่งตรงนี้เรียกว่า Estate Planning จะเกี่ยวข้องกับพวกเรื่องภาษีการให้ ภาษีการรับมรดกต่างๆ
HightLight ของมันคือ ผลิตภัณฑ์สมัยนี้ เรื่องของการวางแผนภาษีไม่ใช่เป็นเรื่องที่แยกกันแล้ว บางผลิตภัณฑ์สามารถที่จะทำการลดหย่อนภาษีได้ หรือแม้แต่เรื่องของการทำประกันชีวิตควบคู่กับการลงทุนก็สามารถลดหย่อนภาษีได้
“การที่เรารู้จักการวางแผนภาษี ทำให้เราสามารถมีรายได้เพิ่มได้ คือเปลี่ยนค่าใช้จ่ายทางภาษีให้เป็นเงินออม เงินลงทุนในธุรกิจ”
WEALTH PROTECTION (LIFE) ทำไมต้องปกป้องความเสี่ยง
เมื่อเราทำธุรกิจ เราต้องพยายามที่จะแยกออกมา ว่าการปกป้องธุรกิจก็ส่วนนึง แต่ตัวเราเองก็ต้องมีแผนในการปกป้องตัวเองด้วยเช่นกัน โดยแบบง่ายๆออกเป็น 2 ประเภท
- WEALTH PROTECTION (NON-LIFE) เช่น ประกันรถยนต์ , ประกันอัคคีภัย, ประกันการเดินทาง และประกันเบ็ดเตล็ด
- WEALTH PROTECTION (LIFE) คือการปกป้องทรัพย์สินที่มีค่า นั่นก็คือ สมองเรา ร่างกายเรา นั่นเอง เพราะฉะนั้น เหตุผลในการที่เราต้องปกป้องความเสี่ยง จะมีอยู่ 4 หลักด้วยกัน คือ
- เหตุผลของความไม่แน่นอน (ตายก่อนเวลา) (DIE TOO SOON)
ตัวเราไม่ใช่เครื่องจักร ที่สามารถซ่อมได้ ถ้าเกิดเราเป็นอะไรขึ้นมา เราจะทำยังไง ลองดูตัวอย่างง่ายๆว่า การที่เราขาดคนในครอบครัวสักคนเป็นอย่าไร
จากตารางข้างต้น จะเห็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาปกป้องความเสี่ยง นั่นก็คือ การลงทุน ประกันชีวิต นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าสมมติวันนี้เราเกิดไม่ได้มีชีวิตอยู่ เรามีรายได้ความมั่งคั่งอยู่ที่ 2,000,000 บาท เราจ่ายเราอยู่ที่ 1,000,000 บาท แสดงว่า คนในครอบครัวเราจะอยู่ได้แค่ 2 ปี ทำให้เราอาจจะต้องขายทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อต่อชีวิต แต่ถ้าเราซื้อทรัพย์สินตัวนึงที่เรียกว่า “ทุนประกัน” (เราสามารถระบุทุนประกันให้เป็นสินทรัพย์ส่วนตัวได้) อย่างตัวอย่างในตารางเราใส่ไป 10,000,000 บาท สินทรัพย์เราจะเพิ่มเป็น 16,500,000 บาททันที ครอบครัวก็สามารถที่จะปรับตัวได้ตามสเกลครอบครัวและธุรกิจ
อีกหนึ่งสิ่งที่หลายท่านกังวลใจในเรื่องการลงทุนซื้อประกัน มันจึงมีแนวทางการแก้ปัญหา
ปัจจุบันนี้ถ้าเราเป็นนักธุรกิจ SMEs เราอาจจะไม่ต้องใช้เงินตัวเองก็ได้ เพราะว่าด้วยการทำธุรกิจ เราจะมีค่าสวัสดิการให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของบริษัท ในการบริหาร เราจึงสามารถที่จะซื้อประกันได้โดยการใช้เงินบริษัทและเราอยากจะจ่ายเท่าไหร่ ก็สามารถจ่ายได้ นี่เป็นอีกหนึ่งทางออกที่เรียกว่า “Corporate Policy” ซึ่งสิ่งนี้สามารถเป็นตัวช่วยบริษัทได้เช่น การเสียภาษีที่น้อยลง วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีนึงที่เราสามารถบริหารบริษัท และความเสี่ยงของตัวเองควบคู่กันไป โดยไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
- เหตุผลของความซับซ้อนทางการเงินตายหลังเวลา (LIVE TOO LONG)
ปัญหาของการอยู่นานขึ้นคือเรื่องของการใช้เงิน สำหรับ ท่องเที่ยว ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการรักษาการเจ็บป่วย
รักษาสุขภาพ
คน 100 คน เมื่ออายุ 65 ปี แบ่งออกด้วยกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มคนใช้ก่อนเก็บ จะเป็นกลุ่มคนประเภท 1.ตกเป็นภาระของสังคม มี 54 คน 2. เสียชีวิตก่อนอายุ 65 มี 36 คน กลุ่ม 3ยังคงต้องทำงาน มี 5 คน และกลุ่มเก็บก่อนใช้ ก็จะมีประเภท 1. ไม่เป็นภาระของลูกหลาน มี 4 คน และ 2. อยู่อย่างสุขสบาย มีเพียง 1 คน
ดังนั้นการออมเงินเพื่อให้มีใช้จ่ายเมื่อถึงวัยเกษียณ นั่นก็คือการลงทุนเรื่อง การฝากประจำ การฝากออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน หุ้นสามัญ แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนของแต่ละบุคคล และความรู้ความสามารถของแต่ละคน
- เปลี่ยนรายจ่ายไม่แน่นอนให้แน่นอนค่าใช้จ่ายก้อนโต (UNEXPECTED LARGE EXPENSE)
คุณเอนกเองได้ยก Critical illness ที่เกิดจากชีวิตจริง โดยเล่าว่า “ทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 28 ปี ธุรกิจไปได้ดี แต่ปีที่แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันคือ หัวใจวายเฉียบพลันจากเส้นเลือดตีบ ไม่มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจ หยุดหายใจไป 13 ที โดยมีใบกำกับทางการแพทย์ ว่าด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และต้องใส่ขดลวดที่หัวใจ 3 เส้น ” ซึ่ง มันเป็นความกังวลว่าเมื่อเราฟื้นนขึ้นมา ค่าใช้จ่ายมันจะเท่าไหร่ และจะอยู่ได้นานขนาดไหน เพราะเรามีธุรกิจและครอบครัวที่ต้องดูแล แต่การทำประกันชีวิต มันช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายได้หมดทุกอย่าง ดังนั้นอยากให้ทุกๆคนมองเรื่องของประกันชีวิต ประกันสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราไม่รู้ว่าวันนึงถ้าเราล้มป่วยหรือจากไป การเงิน ค่าใช้จ่ายของเรามันจะเป็นปัญหาให้แก่คนรุ่นหลังที่ยังอยู่ จากกรณีคุณเอนก ใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 8 แสนบาทในการรักษา บริษัทประกันก็จัดการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆให้ทั้งหมด ในสิ่งที่พูดยกเคสขึ้นมานั้น อยากให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้ Second life ถ้าไม่โชคดีจริงๆ ทั้งหมดนี้คือความเสี่ยง
- ไม่ชอบประกันแต่ชอบผลของประกันเงินออม/ลดหย่อนภาษี/ลงทุน (OTHER BENEFIT)
ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า ประกันจะมาในรูปแบบ Unit-Linked คือ การซื้อประกันชีวิตควบคู่กับการลงทุน โดยการซื้อประกันนั้น ในอดีตผลตอบแทนทางบริษัทจะเป็นผู้บริหารเอง แต่ในปัจจุบัน บริษัทประกันชีวิตสามารถช่วยเราบริหารการลงทุนได้ ว่าเราอยากไปลงทุนกับกองทุนไหน เขามีกองทุนให้เลือกตามลำดับความเสี่ยง ซึ่งสามารถสบายใจได้เลยว่า สุขภาพทางการเงินจะไม่มีผลกระทบอย่างแน่นอน
“ถ้าเราเป็นอะไรขึ้นมา ธุรกิจเรากระทบ แล้วตัวเราจะอยู่ได้ไหม อย่างบางคนไม่สบาย ไม่ได้ทำธุรกิจ ก็สามารถอยู่ได้ เพราะนั่นคือผลที่ได้จากการวางแผนทางการเงิน”
————————
ติดตามเพิ่มเติมที่ได้
Website : ryounoi100lan.com Facbook : อายุน้อยร้อยล้าน Youtube : อายุน้อยร้อยล้านIG IGTV : ryounoi100lanLine : @ryounoi100lanSoundcloud :