ขั้นแรกของการเป็นมืออาชีพ ต้องเริ่มจากแนะนำตัวเองให้น่าสนใจ

2439

เพราะความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกพบนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะทำงาน ทำธุรกิจ ประชุม งานสัมมนา หรือแม้แต่การสัมภาษณ์งาน ถ้าคุณอยากเป็นมืออาชีพที่ดูน่าเชื่อถือและน่าจดจำ ขั้นแรกที่ต้องทำคือ “การแนะนำตัวเองให้น่าสนใจ” เพราะการแนะนำตัวที่ดี ย่อมทำให้คนอื่นรู้สึกดีและเป็นบวกกับคุณมากกว่า

Viagra générique (Sildenafil) est un type de médicament utilisé pour traiter la dysfonction érectile. Si vous voulez acheter Viagra en ligne sans ordonnance, notre site sera une option sûre et convenable.

แต่เชื่อว่ายังมีหลายคนที่กลัวการแนะนำตัวเองต่อหน้าคนอื่น ตื่นเต้น เครียด พูดไม่รู้เรื่อง จนกลายเป็นว่ายิ่งพูดคุณก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะเครียดและง่ายมากที่ยิ่งพูดยิ่งเละ เพราะคุณรู้สึกกดดันที่ทุกสายตาจับจ้องมาที่คุณ แต่ในทางกลับกัน การแนะนำตัว ก็ถือเป็นวิธีที่ดีและตรงที่สุดในการตอกย้ำแบรนด์ส่วนตัว ความเป็นตัวตนของคุณ รวมถึงการสร้างความประทับครั้งแรก ใครที่ยังไม่มั่นใจทุกครั้งที่ต้องแนะนำตัว ไม่รู้จะต้องพูดยังไงให้น่าสนใจ วันนี้เราเคล็ดลับการแนะนำตัวโดยใช้กรอบวิธีง่าย ๆ คือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต

#ปัจจุบัน

การแนะนำตัวที่ดี ควรเริ่มต้นด้วยประโยคปัจจุบัน แนะนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ ชื่อ ตำแหน่งหน้าที่ และบริษัทที่ทำงาน เช่น
“สวัสดีครับ ผมชื่อ ปิยะวัฒน์ เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ โฟกัสปัจจุบันคือ การเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ของลูกค้า”

“ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ ดิฉันชื่อ มารศรี เป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ จากบริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด”

แน่นอนว่าสิ่งที่คุณต้องพูดเพื่อแนะนำตัว จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผู้ฟัง หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มพูดอะไรดี ชื่อและตำแหน่งงานของคุณคือจุดเริ่มต้นที่ดีเสมอ หากมีโอกาสที่จะอธิบายเพิ่มเติม คุณก็สามารถพูดถึงรายละเอียดอื่น ๆ เช่น หน้าที่ โครงการปัจจุบันที่ดูแล คุณสมบัติ และความเชี่ยวชาญของคุณ โดยที่คุณต้องพูดด้วยน้ำเสียงและท่าทางที่มั่นใจ

#อดีต

ส่วนที่ 2 ของการแนะนำตัวจะเป็นเรื่องของอดีตที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมา โดยคุณสามารถพูดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับภูมิหลังของคุณแก่ผู้ฟัง เช่น จบจากมหาวิทยาลัยอะไร เคยทำงานอะไรมาก่อน ทำงานที่ปัจจุบันมานานแค่ไหน ผ่านการรับผิดชอบโปรเจกต์อะไรมาบ้าง และความสำเร็จที่ผ่านมาคืออะไร เป็นต้น นอกจากจะทำให้คนรู้จักคุณมากขึ้นแล้ว ยังเป็นโอกาสในการสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่าง เช่น
“ฉันทำงานที่บริษัทนี้มา 8 ปีแล้ว รับผิดชอบงานมากกว่า 10 โปรเจกต์ และโปรเจกต์ล่าสุดที่ฉันรับผิดชอบทำให้บริษัทของเราได้รับรางวัล SME ยอดเยี่ยมประจำปี 2565”


“ก่อนเข้าร่วมทีมนี้ ฉันเคยทำงานอยู่ในบริษัทด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ฉันทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อจัดการข้อมูลเชิงลึกสำหรับลูกค้าของเราในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ”

#อนาคต

ส่วนสุดท้ายของการแนะนำตัวคือ มุ่งเน้นในเรื่องของอนาคต และเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งนี่เป็นโอกาสของคุณที่จะแสดงความกระตือรือร้นในสิ่งที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งบริบทของคำตอบก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์อีกเช่นกัน หากคุณกำลังสัมภาษณ์งาน คุณสามารถแบ่งปันความกระตือรือร้นและพูดเกี่ยวกับโอกาสที่บริษัทจะได้รับจากคุณ และคุณสามารถพาบริษัทไปได้ไกลขนาดไหน หากคุณอยู่ในที่ประชุมคุณก็สามารถแสดงความสนใจในหัวข้อการประชุมได้ หรือหากคุณกำลังเริ่มโปรเจกต์ใหม่กับทีมใหม่ คุณก็สามารถพูดคุยเกี่ยวกับความตื่นเต้น เป้าหมายและแผนการของคุณสำหรับโปรเจกต์นี้ เช่น

“ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาที่นี่ โครงการนี้เป็นโอกาสสำคัญทั้งสำหรับฉันและพวกเราทุกคน”

”ฉันตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับคุณทุกคน เพื่อแก้ปัญหา และความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของลูกค้า”
“เป้าหมายของฉันคือ พาบริษัทไปหาเป้าหมาย ด้วยความเชี่ยวชาญและทักษะที่สะสมจากการทำงานมากกว่า 8 ปี”

ตัวอย่างประโยคแนะนำตัวเองเพื่อหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

“สวัสดีค่ะทุกท่าน ดิฉันกนกพร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ใหม่ ก็ได้ค่ะ เป็นซีอีโอ บริษัท Beauty & Single บริษัทของเราพัฒนาสินค้าสำหรับคนโสด คนที่กำลังอกหัก และต้องหันกลับมารักตัวเอง เพราะเราเข้าใจพวกเขาเป็นอย่างดี ก่อนหน้านี้บริษัทของเราเคยพัฒนา เครื่องสำอางกันน้ำตา แม้จะเสียใจร้องไห้หนักแค่ไหน แต่หน้ายังเป๊ะและสวยเหมือนเดิม ซึ่งผลตอบรับดีมากยอดขายทะลุ 10 ล้านบาท จนทำให้บริษัทของเราเติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 2 ปี สำหรับก้าวต่อไปเรากำลังจะพัฒนาสินค้าคอลเลกชันคลายหนาวสำหรับคนโสดที่ไม่มีใครให้กอด และเรากำลังมองหาพาร์ทเนอร์ที่มีจุดมุ่งหมายอยากพัฒนา นวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างสิ่งใหม่ในตลาดร่วมกันค่ะ”

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้คือกรอบวิธีในการแนะนำตัวง่าย ๆ ที่คุณสามารถนำไปเป็นแนวทางในการแนะนำตัวให้น่าสนใจ ซึ่งนอกจากพูดตามกรอบนี้แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้องพูดอย่างมั่นใจ สบตาผู้ฟังเสมอ อย่าท่องจำ ปล่อยให้บทสนทนาเป็นไปตามธรรมชาติ และที่สำคัญคือ จำไว้ว่า คุณมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในการสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้ฟัง ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม หากทำพลาดตั้งแต่ช่วงแรก เมื่อไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ให้พยายามสร้างความประทับใจใหม่ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด ตั้งสติ มีความมั่นใจ หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ และคิดว่า วันนี้คุณมาเพื่อให้โลกรู้จักคนเก่งอย่างคุณ จากนั้นจงยิ้มและเริ่มแนะนำตัวเองได้เลย

ที่มา :