คอนเทนต์ที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในปีนี้คงจะเป็นรูปแบบของ Video โดยมีหลายช่องทางที่นิยมเผยแพร่ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter หรือจะเป็นแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ อย่าง Youtube และไม่น่าเชื่อว่าทุกช่องทางสามารถทำรายได้ให้คุณได้ ถ้าคอนเทนต์ของคุณนั้นตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคได้ดี โดยบทความนี้ คุณปู สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทลสกอร์ นำเสนอถึงกลยุทธิ์และเคล็ดลับ Online marketing ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ มีโอกาสปิดยอดขายได้อย่างที่ตั้งใจไว้ และมีเคล็ดลับการทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับแพลตฟอร์มที่มี search engine ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Google อย่าง Youtube
เทคนิคการสร้าง Video Content ของ Youtube Channel ขั้นพื้นฐาน
- การสร้าง Youtube Channel: ควรสร้างให้เป็นธีมเดียวกัน เช่น ช่องของเราเป็นช่องที่ให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวคนเดียว หรือจะเป็นช่องรีวิวอาหารคลีน เป็นต้น จนแบรนด์หรือช่องของเราเกิด Personal Branding ทำให้ช่องของเราสามารถเติบโตไปพร้อมกับผู้ชมได้ทุกปี
- ต้องเรียนรู้ผู้ชม: เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม เพราะเราจะได้ทราบว่าผู้ชม หรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เราเป็นใคร และทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำยิ่งขึ้น
- ศึกษาคู่แข่ง เพื่อสร้างความต่าง: ควรศึกษาคู่แข่งที่มีแนวคอนเทนต์เหมือนกับเรา เพราะความแตกต่างจะทำให้เราสามารถพัฒนาแบรนด์ของเราได้
- พูดคุยกับผู้ชม: เมื่อเรามีการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของผู้ชมแล้ว จากนั้นเราต้องมีการพูดคุยกับผู้ชมแบรนด์ของเราด้วย โดยการกดไลค์ ตอบคอมเมนต์ ซึ่งจะทำให้แบรนด์ของเรามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด
- ใส่ใจรายละเอียดของการสร้างแบรนด์: รายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น cover, ข้อมูลของแบรนด์ ต้องกรอก Profile ให้ครบ รวมทั้งทำหน้าปกของคลิป (Thumbnail) ให้ดูดี เพราะเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์เรา
- โปรโมต video บนช่องทางโซเชียลอื่นของคุณ: อย่าลืมแชร์ Link วิดีโอบนช่องทางอื่น ๆ เช่น Facebook, Line, Twitter เป็นต้น
- เริ่มต้นใช้ Youtube Card: เป็นการสร้างปุ่มที่สามารถให้คนคลิกเข้าไปอ่านต่อในช่องทางอื่น ๆ เช่น Website หรือวิดีโออื่นของคุณได้, อาจจะคลิกเข้าไปสั่งซื้อ หรือสร้างโพลล์สำรวจความคิดเห็นของผู้ชมก็ได้
- ควรทำ SEO (Search Engine Optimization): ตรงนี้จะให้ความสำคัญ Keyword ไปที่ชื่อวิดีโอ เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้ามาดูแบรนด์ของเรา และช่วยให้แบรนด์ของเราได้รับการจัดลำดับในอันดับที่ดีขึ้น
- ใส่ #hashtag ที่ Video description: Hashtag เปรียบเสมือนเป็นคำค้นหาหลัก หรือที่เรียกกันว่าคีย์เวิร์ด และต้องสั้น กระชับ อ่านแล้วได้ใจความ จะช่วยให้ผู้บริโภคหาแบรนด์เราเจอ
- อย่าลืมจัด Playlist: จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใน YouTube Channel นั้นค้นหาหรือเลือกชมคอนเทนต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
- แปล Subtitles เป็นหลาย ๆ ภาษา: นอกจะช่วยให้เข้าใจภาษาอื่น ๆ หรือช่วยให้ฟังคนพูดทันแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เช่น ถ้าเป็น Subtitle ของ Facebook จะช่วยให้เรารู้ว่าคนที่กำลังพูดอยู่ พูดอะไร เพราะ autoplay บน Facebook จะไม่มีเสียง บางทีเราอาจจะดูวิดีโอจนจบคลิปทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เปิดเสียงก็ได้
- Collaborate ร่วมกับ Influencer/Youtuber อื่น ๆ: เป็นอีกหนึ่งไอเดียอาจจะเป็นตัวเพิ่มให้วิดีโอของคุณมียอดวิวที่สูงขึ้นด้วย
- Youtube Ads: สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ และช่วยสร้าง Brand Awareness ทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
- ศึกษา Analytics และปรับปรุง: สามารถดูได้จากหลังบ้านของ Youtube เพื่อให้เราดูว่าสิ่งใดที่ให้ผลดีและสิ่งใดที่ไม่ให้ผลดี ค้นหาว่าใครกำลังดูอยู่ พวกเขาชอบดูอะไร และวิดีโอใดที่จะสร้างรายได้ให้คุณได้
- ศึกษา Youtube video specifications ให้ดี: เป็นขนาดและรายละเอียดของวิดีโอ จำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้ขนาดของวิดีโอของเราเหมาะกับแพลตฟอร์มนั้น ๆ
ทั้งหมดข้างต้นนี้จำเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่กำลังเริ่มจะทำคอนเทนต์หรือเป็น YouTuber นอกจากจะเป็นกระบวนการให้เราทำคอนเทนต์ได้ตามลำดับขั้นตอนแล้ว ยังสามารถเข้าถึง Algoritm ของ google ด้วย เพราะ google เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมค้นหามากที่สุดในโลก โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญกับการตลาดและแบรนด์ของคุณทั้งสิ้น
การทำ SEO (Search Engine Optimization) ของ Youtube Channel
อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า Youtube เป็น Search engine ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก Google ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้ชมเสพคอนเทนต์แทบทุกวันผ่านช่องทางนี้ โดยข้อดีของการทำ SEO ถือว่าเป็นการปรับแต่งข้อมูลในวิดีโอของคุณ จะช่วยให้ผู้ชมมีโอกาสค้นหาคลิปของเราเจอได้ง่าย สามารถเพิ่มผู้ติดตามและเพิ่มวิวได้แบบไม่เสียเงิน ก่อนที่จะเรียนรู้กระบวนการของการทำ SEO นั่น เราต้องรู้รายละเอียดกับฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ Youtube และการมีส่วนร่วมของผู้ชมด้วย เช่น
- Keyword in Titles: การตั้งชื่อหัวข้อ ควรมี Keyword ที่น่าสนใจ อ่านแล้วรู้สึกว้าว และอยากคลิกดู
- Descriptions: การเขียนคำอธิบายเรื่องย่อในวิดีโอ ควรเขียน 2-3 บรรทัด หรือไม่ควรเกิน 5,000 คำ และควรเขียนบรรยายโดยเพิ่ม Keywords เข้าไปด้วย
- Subtitles: นอกจากจะช่วยให้คนดูวิดีโอของเราแบบปิดเสียงได้แล้วนั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการค้นหาได้เช่นกัน
- Tags: จะช่วยในเรื่องของการจัดหมวดหมู่ โดยควรใช้ 10-12 Tags ก็พอ และไม่ควรใส่แท็กที่นอกเหนือจากคลิปวิดีโอ
- Thumbnail: การสร้างหน้าปกที่น่าสนใจและให้ผู้ชมเห็นแล้วน่าคลิก อาจจะเป็นเชิงคำถาม หรือมี Keyword อยู่บนหน้าปกก็ได้ ถือว่าเป็นการเพิ่มการเข้าถึงช่องเราได้ดี
- Playlist: เป็นการแบ่งหมวดหมู่ให้วิดีโอ จะสะดวกต่อการคลิกดูคลิปต่อไปง่าย ๆ
- Number of views (จำนวนผู้ชม): ถ้า VDO มีจำนวนคนวิวเยอะ ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำให้คลิปมีอันดับที่ดี แต่ต้องเป็นวิวคุณภาพเท่านั้น
- Audience Retention (การรักษาผู้ชม): เป็นข้อมูลว่าผู้ชมอยู่กับคลิปเรานานแค่ไหน ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปปรับปรุงไอเดียในการตัดต่อคลิปได้
- Comments & Shares: จะส่งผลต่อการจัดอันดับวิดีโอให้ดีขึ้น ถือว่าเป็นวิดีโอที่มีคุณภาพมีการชื่นชอบและบอกต่อไปยังที่อื่น ๆ
- Reactions: เป็นการมีส่วนร่วมของผู้ชมได้ จะทำให้เราได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำคอนเทนต์ ที่ตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ
- Channel Strength: ข้อมูล เช่น about us ช่องต้องครบ
เครื่องมือเสริมสำหรับการทำ SEO ของ Youtube Channel
Keyword Tool
เว็บไซต์ keywordtool.io เครื่องมือตัวนี้ เป็นเว็บไซต์สุดยอดโปรแกรมค้นหา Keyword สามารถใช้ในการหาคำค้นหาคีย์หลัก คีย์รอง เพื่อที่จะสร้าง Tags คำเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างอันดับในการค้นหาของ Youtube ข้อดี คือมีภาษาไทยสำหรับการค้นหาได้ และฟรีอีกด้วย
การเป็น Influencer
Influencer คือคนที่ผู้บริโภคชื่นชอบและติดตามเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แถมยังมีอิทธิพลในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากรู้ อยากลอง จนไปถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า จึงเกิดเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า Influencer Marketing โดยการจะเป็น Influencer ที่ดีต้องมีความรับผิดชอบในความคิดเห็นตนเอง ไม่ยั่วยุปลุกปั่น ไม่กระจายข่าวลวงด้วยเช่นกัน
- Types of Influencers สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
2. Categorizing influencers สามารถจัดหมวดหมู่ตามขนาดผู้ติดตามดังนี้
การบริหารโปรเจกต์ หรือแคมเปญร่วมกับแบรนด์สินค้า ลูกค้าต่าง ๆ
- วิธีที่แบรนด์คัดเลือก Youtuber, Influencer ให้เหมาะกับแบรนด์สินค้า มีดังนี้
2. การบริหารแคมเปญโดยใช้ Software Marketing Automation เข้ามาช่วย จะทำให้เราได้ทราบ ดังนี้
- ใช้ Big Data เพื่อดูประวัติการทํางาน และข้อมูลความสามารถ
- เห็นตัวเลขคาดการผลลัพธ์ล่วงหน้า เห็นก่อนการจ้างงาน ช่วยให้มั่นใจขึ้น
- เลือกสายของ Influencer (สุขภาพ, ท่องเที่ยวฯ) ที่เหมาะสมกับแบรนด์ได้
และเมื่อเรามี Data ก็สามารถทำให้เราวัดผล เก็บสถิติ ของการตลาด หรือที่เรียกว่า Influencer Marketing ดังตัวอย่างปิระมิดต่อไปนี้
- จำนวนอินฟลูเอ็นเซอร์ : มีทัั้ง Macro-Influencer หรือผู้ที่มีคนติดตามจำนวนมาก หรือ Micro-Influencers กลุ่มคนตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว มีจำนวน 20 คน
- Impressions : เป็นจำนวนที่วัดว่าคอนเทนต์ของเราถูกเสิร์ฟหรือยิงด้วย Ads ไปหากลุ่มคนกี่ครั้ง
- จำนวนผู้ติดตาม : เป็นสิ่งที่ช่วยตัดสินว่าช่องของเรานั้นใหญ่หรือเล็ก
- Video views : จำนวนการรับชม หลังจากคอนเทนต์ถูกยิงไปหาผู้ชมจริง ๆ ว่ามีคนดูเท่าไหร่
- จำนวนคนเห็น (ไม่ซ้ำคน) : เป็นจำนวนที่คอนเทนต์ที่เรายิงไป คนเห็นจริง ๆ อยู่เท่าไหร่
- จำนวนคนนำไปพูดคุยต่อ (คลิก, คอมเมนต์, แชร์) : เป็น organic share หรือเป็นการดูว่ามีคนปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์เรามากน้อยแค่ไหน
- Conversions ที่เป็นจำนวนคลิก , ดาวน์โหลด, Sign up, Subscribe : จำนวนที่จะทราบได้ว่าจะมีคนติดตามหรือตามไปซื้อสินค้าเราหรือไม่
- conversions in sale มีจำนวนคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์แล้ว ก็นำไปสู่ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค จะทราบได้ว่าการจ้าง Influencer เหล่านี้ ทำให้มีคนตัดสินใจซื้อสินค้าของเราเท่าไหร่
Marketing Funnel เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการตลาดจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั่นเอง
ปิระมิดแห่งการโน้มน้าว และการร่วมงาน กับ Micro-Influencers
ทุกแบรนด์ทำคอนเทนต์ ทำโฆษณา การตลาดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ที่เป็นพื้นฐานของพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนี้
Awareness (วางช่องทางโปรโมตแบรนด์) ต้องทำให้ผู้บริโภคเปิดรับ สร้างการรับรู้ โดยอาจจะนำเสนอคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการค้นหาคำตอบของเรื่องนั้น ๆ ให้ได้
Consideration (เสริมความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์) ต้องพิจารณาหารือกับคนในทีม และจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์โน้มน้าวใจพอสมควร ก่อนอื่นต้องหาให้ได้ว่า จุดเด่นของแบรนด์คืออะไร จุดเด่นที่ว่านั้นต้องเป็นสิ่งที่แบรนด์อื่นขาดหรือไม่โดดเด่นด้านนั้น
Conversion (กระตุ้นให้ลูกค้า) เมื่อแบรนด์มีความน่าเชื่อถือและมีความโดดเด่นแล้ว ผู้บริโภคก็จะมีการลองคลิก ลองสมัคร ลองเข้ามาดูแบรนด์ของคุณ นอกจากนี้ต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกคุ้มค่า ที่จะเสียเงินสั่งซื้อของ หรือเสียเวลาลงทะเบียนแลกข้อมูลสำคัญกับคุณเพื่อเข้ามาดูด้วย
เมื่อแบรนด์มี 3 สิ่งดังกล่าว ผู้บริโภคก็เกิดการตัดสินใจซื้อ (Buy) สินค้าหรือซื้อไอเดียของแบรนด์ สินค้าหรือคอนเทนต์เราดีเกิดความประทับใจ ผู้บริโภก็จะเกิดการสนับสนุน (Loyalty) และจะเกิดการบอกต่อ (Advocacy) ในที่สุด
หลายคนเข้าใจผิดว่า Micro-Influencer ไปทำหน้าที่แทน Macro-Influencer แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย สองสิ่งนี้ขาดกันไม่ได้ เพราะอาจทำให้เกิดช่องว่างของการสื่อสารได้ นอกจากนี้เราจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ที่แบรนด์อยากสื่อสารออกไปด้วย การเลือก Influencer มาเป็นตัวช่วยให้แบรนด์ก็สำคัญ บุคคลเหล่านี้มีต้องมีความแตกต่าง และหลากหลาย เหมาะสมกับแบรนด์เราด้วย โดยวิธีเลือก Influencer ต้องเป็นคนที่สร้างคอนเทนต์ที่จะสื่อสารเป็น (Message), มีช่องทางโซเชียลมีเดีย (Channel) และมีคนจริงๆ อยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่บอท (Authenticity) เหล่านี้จะเป็นตัวช่วยพื้นฐานในการจ้างตัวของ Influencer นั่นเอง หรือสามารถเลือกได้จากกลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์ช่วงเวลา: จํานวนผู้ติดตามเป็นตัวกําหนด ทิศทางของ KPI หรือผลลัพธ์ เช่น
- ผู้ติดตามมาก แสดงว่า Influencer คนนั้นจะเด่นด้านการสร้างการรับรู้ (Awareness)
- ผู้ติดตามน้อย อาจจะเด่นด้านการเข้าถึง (Engagement)
กลยุทธ์กองทัพมด: ร่วมงานกับ Influencer ที่มี ผู้ติดตามน้อย (800-5,000) ในจํานวนมาก ๆ (100 คนขึ้นไป) การสื่อสารออกไปอาจจะได้ผลดีกว่า
Call-to-Action (CTA): อย่าลืมการสร้าง CTA เช่น ชวนไป ทําอะไร, มีลิงก์ไปดูข้อมูลต่อ, ลงทะเบียน หรือซื้อ สินค้า, promo-code
โดยข้อมูลข้างต้น จะเป็นตัวช่วยว่าแบรนด์ของเราควรทราบค่าแก่การลงทุนสื่อสาร ผ่านคนดัง Influencer ประเภทไหน สามารถดูได้จากปิรามิดของ Influencer หรือที่เรียกว่าปิรามิดแห่งการโน้มน้าว ( Pyramid of Influence) ดังนี้
เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะบอกได้ว่า สุขภาพของแบรนด์ ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้บริโภค 80% ผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อเพื่อน หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดอย่างมาก แม้จะรู้ว่าเป็นการโฆษณา และหากแบรนด์ต้องการให้คนเห็นสินค้าของเรา หรือ Reach สูง ๆ ให้เลือกใช้ Macro-Influencer หรือ Micro-Famous Influencer แต่ถ้าอยากได้ Engagement (Like, Share, Comment) ให้เลือกใช้ Micro-Influencer โดยเฉพาะกับ Micro-Influencer ถ้าอยากได้ผลตอบรับที่วัดผลได้ จะต้องใช้จำนวนประมาณ 50 คนขึ้นต่อแคมเปญ รับรองได้ว่าสินค้า/บริการของคุณนอกจากจะเป็นที่รู้จักแล้ว ยังสร้างให้เกิดความต้องการซื้อ (Purchase Intent) ได้ด้วย ทั้งนี้ต้องอาศัย Tool ที่มีประสิทธิภาพ และวัดผลได้ ที่เหลือก็อยู่ที่คุณว่าพร้อมหรือยังที่จะพิสูจน์พลังแห่งการบอกต่อนี้