ในโลกของการแข่งขันด้านธุรกิจ ปัจจัยที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของเรา นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้เติบโตขึ้นแล้ว การวางแผนในเรื่องการเงินก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเรามีความมั่นคงและก้าวต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด นอกจากการให้ความสำคัญแผนการเงินในธุรกิจแล้ว การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนั้นก็มีความจำเป็นเช่นกัน ทำอย่างไรให้การใช้จ่ายของเรามีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันข้างหน้า เพราะ
“ ถ้าคุณมีแผนธุรกิจที่ดีแล้ว ในขณะเดียวกันคุณมีแผนการเงินสำหรับครอบครัวที่ดีด้วย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าธุรกิจคุณพังขึ้นมา สบายใจได้เลยว่าคุณจะไม่พังไปด้วย”
ซึ่งในช่วงนี้เราจะมาพูดถึงเคล็ดลับการวางแผนทางการเงินของธุรกิจ และแผนทางการเงินของตัวเอง เพื่อทำให้เราและธุรกิจเติบโตไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเทคนิคการคิดแบบง่ายๆ โดยเราได้เชิญ คุณมาร์ค ปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ CFP , Financial Planner บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังเป็น Founder & CEO ที่ Plant Consultant มาแนะนำแผนการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับเรา เทคนิคง่ายๆซึ่งใครก็สามารถเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้
Highlight
- การวางแผนทางการเงินของธุรกิจ กับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ต่อให้เรามีแผนที่ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าแผนการเงินเราจะสมบูรณ์แบบ
- ธุรกิจ SMEs มีความเสี่ยงสูงกว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากส่วนมากเป็นการลงทุนด้วยเงินตัวเอง ดังนั้นถ้าการเงินสะดุด ธุรกิจสะดุดด้วย
- ธุรกิจในแต่ละ stage มีความสำคัญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วง Launch (เริ่มต้นธุรกิจ) Growth (การเติบโตของธุรกิจ) Maturity (ความอิ่มตัวทางธุรกิจ) ดังนั้นการวางแผนทางการเงินก็จะแตกต่างกันไป
- Stage 1 ในช่วง Launch การวางแผนทางการเงินคือต้องคำนึงถึงพาร์ทเนอร์ธุรกิจเป็นหลัก จำเป็นต้องปกป้องพาร์ทเนอร์จากความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง
- Stage 2 ในช่วง Growth ช่วงหาเงินได้มากที่สุด ควรวางแผนการเงินให้กับตนเองและครอบครัว เช่น แผนการออมเงินเกษียณ แผนค่าเทอมลูก คิดว่าทำอย่างไรให้เงินที่เราได้มาจากธุรกิจมีประโยชน์สูงสุด
- คนทั่วไปมักลืมคำนวณค่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในแต่ละปี โดยปกติแล้วค่าอุปโภค บริโภค สาธารณปูโภคจะคิดเป็น 3% ต่อปี ส่วนเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลคิดเป็น 8% ต่อปี
- Stage 3 ในช่วง Maturity ควรมองภาพกว้างของธุรกิจ ให้ความสนใจกับคนที่มี ส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจของเรา (Stakeholders) เช่น พาร์ทเนอร์ ลูกจ้าง ลูกค้า
- แผนการปกป้องพาร์ทเนอร์จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คือการสร้างแผนให้อะไรก็ได้ให้พาร์ทเนอร์คนอื่น ทำให้เขามีเงินก้อน สามารถไปซื้อหุ้นคืนจากเจ้าของธุรกิจได้ ครอบครัวของเจ้าของธุรกิจ (ในกรณีที่ไม่สามารถบริหารจัดการต่อได้)ก็ดีขึ้น ในขณะที่พาร์ทเนอร์ได้หุ้นคืน ก็สามารถนำไปทำให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจเดิมได้
- “Business it’s not only you.” อย่าลืมใส่ใจผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจ (Stake holder) โดยการสร้างความผูกพันธ์ของพนักงานให้มีความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เพื่อลดปัญหาการลาออกและการฉ้อโกงในบริษัทได้
วางแผนการเงินอย่างไร ให้ตอบโจทย์ทุกจังหวะชีวิตของธุรกิจ
1. Launch ช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ (Stage1) เป็นช่วงที่คุณและพาร์ทเนอร์ต้องร่วมมือ ร่วมแรงกันสร้างไอเดียในการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อออกสู่ตลาด ดังนั้นการให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในการวางแผนการเงินใน Stage นี้ จะเน้นในเรื่องของการสร้างแผนป้องกันความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงให้แก่พาร์ทเนอร์
2. Growth ช่วงการเติบโตของธุรกิจ (Stage2) เป็นช่วงทำเงินจากธุรกิจที่เราสร้าง สินค้าและบริการของเราเป็นที่รู้จัก เป็นช่วงที่เราสามารถใช้เงินจาการทำธุรกิจมาสนองความต้องการของเรา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอย ไปจนถึง Lifestyle ในการวางแผนทางการเงินของช่วงนี้จะเป็นการวางแผนที่คำนึงถึงตัวเจ้าของธุรกิจและครอบครัว เป็นแผนการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น แผนการออมเพื่อเงินเกษียณอายุ ทำอย่างไรให้เงินที่เราได้มาจากธุรกิจ เกิดประโยชน์มากกับเราที่สุด โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 77% และแผนค่าเทอมลูก
คิดแผนเกษียณง่ายๆ ใช้ได้จริง (สำหรับเจ้าของกิจการ)
คำนวณเงินต้นทุนการเกษียณ (Cost Of Retirement) โดยใช้สูตรการแบ่ง คือ Living 40% Life Style 9% Medical 51%
Cost Of Retirement คิดจากอะไร ? คิดจากการคาดการณ์ว่าเราจะมีอายุยืนยาวที่สุดกี่ปี จากนั้นก็คำนวณว่าใน 1 ปีเราใช้จ่ายไปกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าการท่องเที่ยว ค่าหมอเท่าไหร่แล้วนำคูณกับจำนวนปีที่เราคาดว่าเราจะมีอายุถึง
เช่น เราอายุ 30 ปี มีค่าใช้จ่ายส่วนตัว 50,000 บาท/เดือน เที่ยวใน/ต่างประเทศ ปีละ 2 ครั้ง รวม 300,000บาท/ปี ปีๆหนึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,000,000 บาท จากนั้นเราวางแผนว่าเราจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี แสดงว่าเราต้องมีเงินประมาณ 30,000,000 บาท เพื่อใช้ในตอนเกษียณ แต่ความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมักลืมคำนวณว่าในแต่ละส่วนมันมีค่าเงินเฟ้อที่แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวค่ากินอยู่ มักจะมีเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี ส่วนค่าการรักษาพยาบาลจะอยู่ที่ 8% ต่อปี เงินที่ต้องมี จึงเพิ่มขึ้นจาก 30,000,000 บาท เป็น 90,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนตัวเลขที่เยอะมากเลยทีเดียว โดยในจำนวนนี้ หากดูลึกลงไปในสัดส่วนค่าใช้จ่ายแล้ว จะพบว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่ารักษาถึง 50% หรือ 45 ล้านบาท
หมายเหตุ : ในเรื่องของหมวด Medical (ที่ทุกคนไม่นึกถึง) ค่าใช้จ่ายแยกได้หลักๆเป็น
1. OPD : ครั้งละ 3,000 บาท (5 ปี/ครั้ง)
2.IPD ทั่วไป : ครั้งละ 50,000 บาท (15 ครั้ง/ 30 ปี)
3.IPD Extra : ครั้งละ 300,000 บาท (10 ครั้ง/ 30 ปี)
4.โรคร้ายแรง : ครั้งละ 3,000,000 บาท (1 ครั้ง/ 30 ปี)
จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายหมวดนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจริงในชีวิตคุณ เพียงแต่คุณไม่รู้มาก่อนว่ามันมีตัวเลข 45 ล้านบาท อยู่ในชีวิตคุณตอนเกษียณด้วย ซึ่งจากการคำนวณ ถ้าเจ้าของธุรกิจท่านนี้ไม่วางแผน การเงิน เขาจะต้องออมปีละ 4,000,000 บาท/ปี เพื่อให้ได้เงิน 90 ล้านบาท แต่แค่มีการวางแผน เราสามารถจ่ายแค่ 890,000 บาท/ปี (ประหยัดไปถึง 77% หรือ -3,110,000 บาท) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและการใช้จ่ายของแต่ละบุคคลไปจนถึงระยะเวลาในการเริ่มการออม สิ่งสำคัญที่อยากให้มอง คือการคำนึงในเรื่องของการเกษียณอายุ อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องไกลตัว
แผนการออมค่าเทอมลูก (ฉบับลดค่าเทอม 40%)
โดยทั่ว ๆ ไปแล้วนั้น ค่าเทอมเด็กที่อยู่ในระดับโรงเรียนปานกลางจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ ปีละประมาณ 100,000 บาท ถ้านับจำนวนปีการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนถึงมหาวิทยาลัย รวมกับเงินเฟ้ออีกประมาณ 5%ต่อปี เราจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายให้กับค่าเทอมลูกอยู่ที่ 3,207,000 บาท
แต่ถ้าเรามีตัวช่วย มีการวางแผนการออมค่าเทอม เราจะสามารถลงทุนจ่ายค่าเทอมแค่ 2,033,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถ้านำตาราง 2 ตารางมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นได้ว่า การวางแผนเพื่อค่าเทอมลูกสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 1,174,000 บาท หรือคิดเป็น 40% ของค่าใช้จ่ายจริง นี่คือแผนค่าเทอมที่ทุกคนก็สามารถไปออกแบบด้วยตัวคุณได้ ไม่ว่าคุณจะส่งลูกเข้าโรงเรียนในระดับเกรดไหน ผมกล้าการันตีว่าแผนนี้ save ได้ถึง 40%
เพราะฉะนั้นทั้งสองแผนนี้ไม่ว่าจะเป็น แผนการออมเงินเกษียณ หรือ แผนค่าเทอมลูก เป็นแผนที่คุณต้องคิดใน Stage ที่ 2 ของการทำธุรกิจ คือช่วงที่คุณหาเงินได้เยอะที่สุด
“เงินที่หามาได้จากการทำธุรกิจ พยายามนำไปสร้างหลักประกันให้กับตัวเองและครอบครัวก่อน พอมั่นใจแล้วว่าฉันทำตามแผนการเงินที่วางไว้ได้ ค่อยนำเงินไปทำอย่างอื่นต่อ”
3. Maturity ช่วงที่บริษัทเติบโต แข็งแรงแล้ว (Stage3) เป็นช่วงที่ธุรกิจของคุณอาจมีความเสี่ยงในการปิดกิจการได้ แต่ถ้าเรามีแผนทางการเงินทุกอย่างไว้มันก็ไม่น่ากลัว สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญใน Stage นี้ คือการที่เราต้องเริ่มมองภาพกว้างมากขึ้นในการทำธุรกิจ คนที่มีส่วนสำคัญในการเติบโตของธุรกิจคุณ ซึ่งประกอบด้วย ลูกค้า ลูกจ้างพนักงาน หลายบริษัทที่กิจการกำลังเติบโตแต่สะดุดด้วยการ takeover พนักงานลาออกไปรับเงินเดือนที่สูงกว่าในบริษัทอื่น ความเสี่ยงในเรื่องของการทุจริต
“เรื่องของ Stake Holder เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องคิด เรียกได้ว่าเป็นแผนที่ 3 ที่ต้องคิด ใน Stage 3 ที่ธุรกิจของคุณกำลังไปได้สวย นี่คือสิ่งที่ควรระวัง”
สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อธุรกิจของคุณ
เจ้าของธุรกิจเองควรบริหารจัดการกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เช่น การสร้างแผนสวัสดิการที่ดี การให้ความรู้เรื่องการเงิน ในข้อนี้หลายบริษัทอาจไม่จะไม่มีใครนึกถึง ยกตัวอย่างในมุมของลูกจ้างและพนักงาน ถ้าวันนี้มีพนักงานในธุรกิจของเราจะลาออก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของปัญหาการทำงาน เรื่องของเงินที่ไม่พอใช้จ่ายในครัวเรือน เพราะความเชื่อที่ว่า การย้ายบริษัทในการทำงานจะช่วยในเรื่องของการเรียกเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น คนส่วนมากไม่เคยคิดว่าทำไมใช้จ่ายไม่พอ ส่วนใหญ่เรื่องแรกที่โฟกัสคือ เงินที่ได้มามันเท่าไร
จากการที่ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับหลายๆบริษัท พบว่าปัญหาเรื่องเงินคือเรื่องที่สำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางครั้งรายได้เยอะแล้ว (ในแง่ของอุตสาหกรรม) แต่เขามีปัญหาในเรื่องของการจัดการค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้น สิ่งที่เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการต้องให้ทักษะความรู้เขาเรื่องเงินด้วย ให้พนักงานมีความรู้ในเรื่องของการบริหารเงิน นอกจากนั้นยังต้องสร้างสวัสดิการที่ดีให้แก่พนักงาน เพื่อให้เขารักและอยู่กับบริษัทเราไปนาน ๆ นอกจากนี้การที่เราดูแลใส่ใจลูกค้าก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะหลายคนเชื่อว่า “ถ้าลูกค้าอยู่ได้ ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน มีการวางแผนการเงินที่ดี เขาก็จะมีเงินมาซื้อของและลงทุนกับเรา” นั่นคือการคิดแบบ Stake holder จริง ๆ
“ทั้งหมดทุก stage ถ้ามีการวางแผนที่ดีในแต่ละจังหวะชีวิตของธุรกิจที่คุณบริหารอยู่ มันจะช่วยให้เรามีความเป็นเจ้าของกับธุรกิจได้มากขึ้นกว่าเดิม แม้จะไม่เท่าบริษัทมหาชน แต่มันจะทำให้วันนึงไม่ว่าคุณหรือธุรกิจพัง อีกคนนึงที่เหลืออยู่ได้รับผลกระทบที่น้อยลง”
ติดตามสัมมนา และ Workshop ฟรี! ครั้งต่อไป ได้ที่
Line : @ryounoi100lan
เพิ่มเพื่อนตอนนี้เลย http://bit.ly/2Tq0oMH
ช่องทางสำหรับการโปรโมทกิจกรรม
และเพื่อรับสิทธิ์ลงทะเบียน ฟรี! ก่อนใคร
#อายุน้อยร้อยล้าน #สัมมนาฟรี
#workshopฟรี #MushroomSuperclass #YoungSelfmadeMillionaireClub #YSMC